สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย

THE  HALAL STANDARD INSTITUTE OF THAILAND (HSIT)

 

Introduction:

        The Halal Standard Institute of Thailand (HSIT) was established on 24th September, 2002 by the Royal Thai Cabinet Resolution. In order to facilitate Halal consumer protections, HSIT sets standards and guidelines along with Halal Manual through research and information from Islamic Laws, Islamic Scholars, as well as taking into consideration International Standards of  Halal products and services. The Halal products and services accumulated with such standards that assure all requirements of both the Islamic Law and safety for consumers which have been recognized and reliable both nationally and internationally. Halal Standard Institute of Thailand (HSIT) currently follows International standards of The Standards and Metrology Institute for Islamic Countries (SMIIC) /OIC" which are a sound mechanism for the harmonization of standards among Islamic states. And it aims at accomplishing uniformity in metrology, laboratory testing and standardization activities among Member States and ensuring education and training and providing technical assistance to the OIC Members in the domain of standardization and metrology. Halal Standard Institute of Thailand (HSIT) highly being supported by Central Islamic Council of Thailand (CICOT), Islamic Committee of provinces (ICOP), Halal Science Center-Chulalongkorn, Government, private companies, stakeholders etc.

Aim:

        To support Central Islamic Council of Thailand (CICOT) on setting up Halal standards and guidelines for certifications of halal products and services.


Duties and Responsibilities:

      Research Standards : According to the provisions of Islam in order that to be trusted and respected and recognized by manufacturers, consumers and organizations, both public and private, both at home and abroad. Guideline : Strategy to way forward Halal Manual: Working procedure to implement Halal Standards Trainings: for auditors, supervisors, managers, workers etc to have knowledge comprehension, skills, and have the ability for certification, Promotion, marketing, and exporting the products and services, according to Halal standards. Awareness: for public and private agencies to build confidence about the Halal system and the process of Halal certification, the system which is parallel to the norms of international Halal standards, as well as the coordination with international Halal organizations, to strengthen the trust and recognition.

 

         ประเทศไทยเริ่มมีการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล นับตั้งแต่สมัยของจุฬาราชมนตรีนายต่วน สุวรรณศาสตร์ เมื่อประมาณ ๖๘ ปีที่แล้วมา โดยเมื่อประมาณกลางปี ๒๔๙๑ บริษัทแหลมทองค้าสัตว์จำกัด ขอปรึกษาแนวทางในกาปฏิบัติในการส่งไก่ชำแหละ ไปยังบริษัทลูกค้าที่ประเทศคูเวต โดยบริษัทปลายทางระบุชัดเจนว่าผลิตไก่ทุกตัวจะต้องเชือดถูกต้องตามหลักการอิสลาม โดยจะต้องมีการรับรองความฮาลาลโดยองค์กรศาสนาในประเทศไทย

         ในขณะนั้นอำนาจในการตรวจสอบและการออกเอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลเป็นของจุฬาราชมนตรี จึงได้เริ่มมีการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มุ่งเน้นไปที่ไก่เพื่อการส่งออกดังกล่าวไปยังประเทศคูเวตเมื่อต้นปี ๒๔๙๒ หลังจากนั้นท่านจุฬาราชมนตรีต่วน จึงดำเนินการรับรองฮาลาลแก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆเรื่อยมา แม้ผลิตภัณฑ์จะมีไม่มากนัก แต่ถือว่าได้รับความเชื่อถือจากสาธารณะชน ด้วยความที่ท่านจุฬาฯเป็ที่เคารพนับถือจากผู้คนโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มิใช่มุสลิม

         ต่อมาในสมัยของจุฬาราชมนตรีนายประเสริฐ มะหะหมัด จึงได้มอบหมายและออกระเบียบกำหนดให้การตรวจสอบ การรับรอง และการออกตราเครื่องหมายการรับรองฮาลาล เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ท่านจุฬาราชมนตรีประเสริฐได้ของจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองกับกระทรวงพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นที่น่าสังเกตว่าโดยในช่วงเวลาทั้งสองช่วงดังกล่าวผลิตภัณฑ์ฮาลาลยังจำกัดวงอยู่เฉพาะเรื่องอาหารเพื่อการบริโภคเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าผลิตภัณฑ์ฮาลาลมิได้จำกัดอยู่เฉพาะอาหารเท่านั้น

 

         ภายหลังการตราพระราชบัญญัติการบริหารองค์การศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ การดำเนินกิจการ      ฮาลาลเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งในเชิงของการจัดวางระบบและการออกระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจากตามความในมาตรา ๑๘  (๕) (๖) และ (๙)  กับมาตรา ๒๖ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้คณะกรรมการอิสลามกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (สกอจ.) มีอำนาจออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม

        ดังนั้น งานด้าน “ฮาลาล” ในประเทศไทยนับตั้งแต่เวลานั้นจึงถือเป็นอำนาจตามกฎหมายของ สกอท. และ สกอจ.หรือองค์การศาสนาอิสลามโดยตรง

         จากนั้นเป็นต้นมา การดำเนินพันธกิจฮาลาลของ สกอท.และ สกอจ.เริ่มมีรูปแบบด้านโครงสร้าง กระบวนการ วิธีปฏิบัติที่ชัดเจน กับมีการพัฒนาทั้งในเชิงคุณภาพทางวิชาการ และมาตรการในการกำหนดแนวทางเพื่อการตรวจสอบ การรับรอง และการออกเครื่องหมายแสดงผลิตภัณฑ์ที่มี “ตราฮาลาล” อันเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป ทั้งในส่วนของค่านิยมของผู้บริโภค (Customer values) ผู้ผลิต ตลอดจนผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องตลอดเส้นทางจากห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ในการพัฒนาการผลิต การดำเนินงานจัดจำหน่าย และการพัฒนาคุณภาพการบริการ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดตามมาคือความเชื่อถือของมุสลิมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทย

          ลักษณะเด่นที่สุดของกิจการฮาลาลไทยคือ การกำหนดมาตรฐานกลางมาตรฐานเดียว กับมีออกตรา ฮาลาลเพียงตราเดียว ภายใต้อำนาจของ สกอจ. และ สกอท.

          นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้เริ่มต้นผลักดันการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไทยออกสู่ตลาดโลก ทั้งนี้ เพื่อการเพิ่มรายได้จากอุตสาหกรรมอาหารที่หนุนเนื่องด้วยความแข็งแกร่งของภาคเกษตรกรรม ในเชิงของการผลิตจากฟาร์มไปสู่การบริโภคบนโต๊ะอาหาร (From farm to table) อันถือเป็นภาคการผลิตและบริการที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบของการแข่งขันระหว่างประเทศ การผลักดันยุทธศาสตร์ “ครัวไทยไปสู่ครัวโลก (Kitchen of the World)” จึงถือเป็นเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ผลที่ได้รับคือประเทศไทยครองตำแหน่งอยู่ในอันดับต้นของโลกของการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารสู่ตลาดในทุกภูมิภาคของโลกในปัจจุบัน

             อนึ่ง ในการผลักดันยุทธศาสตร์นี้ หน่วยงานภาครัฐพิจารณาว่าตลาดโลกมุสลิม เป็นอีกภาคหนึ่งที่มีทั้งปริมาณผู้บริโภคจำนวนมากถึงประมาณ ๑,๗๐๐ ล้านคน ใน ๑๔๘ ประเทศ ส่วนหนึ่งรวมตัวเป็นประชาคมเฉพาะเป็นภาคีประเทศภายใต้ “องค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation or OIC)” อันมีสมาชิกรวมกัน ๕๗ ประเทศ กับอีกส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและประเทศรอบอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Countries or GCC) โดยประเทศ เหล่านี้เป็นตลาดที่มีความต้องการผลิตฮาลาลในอัตราที่ต่อเนื่อง

            ตามสถิติด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารของประชากรโลกมุสลิมมีมูลค่าโดยรวม ณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ อยู่ที่ ประมาณ ๗,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะในส่วนของการค้าระหว่างประเทศด้านผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลในปีเดียวกัน มีมูลค่าสูงถึงประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ

          จากความสำคัญของยุทธศาสตร์การส่งออกผลิตภัณอาหารและความเติบโตของตลาดฮาลาลในโลกหน่วยงานภาครัฐของไทยพิจารณาว่าการที่ประเทศไทยมีจุดแข็งคือ มีศักยภาพในการผลิตอาหาร และมีโอกาสที่มีตลาดสินค้าอาหารสำหรับประชากรมุสลิมซึ่งมีขนาดที่ใหญ่มาก แต่ประเทศไทยมีจุดอ่อนจากการที่ไม่ใช่เป็นประเทศมุสลิม การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การผลิต และการส่งออกอาหารฮาลาลจึงจำเป็นจะต้องสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับของผู้บริโภคที่เป็นประชากรมุสลิม ในประเด็นที่ว่าอาหารที่ผลิตจากประเทศไทยเป็นอาหารฮาลาล ซึ่งถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามและมาตรฐานฮาลาลสากล

          ในการสร้างความเชื่อถือและการยอมรับของผู้บริโภคในต่างประเทศ จำเป็นต้องผลักดันให้มาตรฐานอาหารฮาลาลและการตรวจสอบรับรองคุณภาพโดยองค์กรทางศาสนาถือเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของความสำเร็จ  ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ภาครัฐจึงให้การสนับสนุนเรื่องการกำหนดมาตรฐานอาหารฮาลาล และการสร้างระบบการตรวจสอบรับรองของประเทศที่เป็นเอกภาพ ในการนี้จึงได้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้ง “สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งประเทศไทย” ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสนับสนุนให้ทำหน้าที่ในการดำเนินงานการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ ทั้งนี้ได้มีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาอิสลาม นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาต่าง ๆ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๖ กับมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันฯ รองผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่ที่มีศักยภาพและความพร้อมในการสร้างสรรค์ผลงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดขึ้น เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๗

           จากนั้นได้มีการดำเนินงานเพื่อการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวกับอาหารฮาลาลเรื่อยมา จนสามารถประกาศใช้มาตรฐานอาหารฮาลาล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเป็นประกาศกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง อาหารฮาลาล ไว้เป็นมาตรฐานสมัครใจ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๗๘ ง. ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๐

           หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ กอท. ได้ออกระเบียบว่าด้วยการดำเนินกิจการฮาลาล เพื่อกำหนดมาตรการและวิธีการตรวจสอบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล และการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของ กอท.ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในระเบียบนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลเดิม ให้เป็น “สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย” (สมฮท.) นับตั้งแต่วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒
Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy